วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติศาสตร์ การต่อสู้ของรัฐปัตฏอนี

.......นับตั้งแต่สิ้นสุดการปกครองด้วยระบบกษัตริย์(สุลต่าน)แห่งรัฐมลายู เมื่อ ๑๙๐๒ ชาวปัตฏอนี ต้องตกอยู่ในสภาพถูกบังคับและอ่อนแอลง เกิดความวุ่นวายขึ้นในภาคใต้ระหว่างปี ๑๙๑๐ - ๑๙๒๓ นอกจากนั้นภายใต้การบริหารราชการในสมัยของจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ระหว่างปี ๑๙๓๙ - ๑๙๔๔ ซึ่งเป็นนโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม หรือนโยบายรัฐนิยม (Assimilation)
.......ประชาชนชาวมลายูปัตฏอนี เริ่มมีความหวังขึ้นมาอีกครั้งเมื่อรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เข้าข้างฝ่ายญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิทธิพลของอังกฤษในอินเดียที่สนับสนุนการปลดปล่อยประเทศหรือดินแดนต่างๆในภูมิภาคที่ถูกครอบครองบนพื้นฐานหลักการที่มีสิทธิที่จะกำหนดโชคชะตาชีวิตของตนเอง ( Self Determination) อย่างไรก็ตามจุดยืนของอังกฤษต่อสยามประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากที่สงครามเอเชียมหาบูรพาได้สิ้นสุดลง ผลประโยชน์ของอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผลทำให้อังกฤษต้องเปลี่ยนท่าทีให้การสนับสนุนต่อรัฐบาลสยามประเทศเพื่อต่อสู้กับคอมมิวนิตส์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นการลุกขึ้นของคอมมิวนิตส์ในภูมิภาคนี้ราวปี ๑๙๔๘ จึงถือเป็นเงื่อนไขประการสำคัญอีกประเด็นหนึ่งซึ่งดับความหวังของประชาชนชาวปัตฏอนีที่จะเป็นอิสระจากสยามประเทศได้ เริ่มอ่อนแอลง การต่อสู้ที่สำคัญของชาวมลายูปัตฏอนี โดยการนำของ Tengku Mahmood Mahyideen และ นายฮัจยีสุหลง ราวปี ๑๙๖๐ มีองค์กรเพื่อการปลดปล่อยหลายองค์กรเกิดขึ้นเพื่อต่อสู้ในความเป็นเอกราชของปัตฏอนี มีการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ แต่การต่อสู้ดังกล่าวยังคงไม่ประสบผลสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้ได้




กิตติพันธ์ กุลศิริปัญโญ